บทที่ 4 การติดต่อสื่อสาร ค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต

 

อินเทอร์เน็ต  (Internet)   หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (International Network)  ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยจำนวนมากมายที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก  โดยในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายจะสามารถติดต่อสื่อสารเพื่อการเรียกใช้หรือ และแลกเปลี่ยนข้อมูลตลอดจนสนทนากันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ลักษณะข้อมูลที่ปรากฏในเครือข่ายมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ  ภาพเคลื่อนไหว เสียง ที่ปรากฏในรูปแบบของสื่อประสมหรือมัลติมีเดีย (Multimedia) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือเป็นห้องสมุดโลก ทั้งนี้เนื่องจากเปิดให้ผู้ที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารใส่ข้อมูลข่าวสารไว้ในเครือข่าย  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะที่เปิด สามารถเรียกหรือค้นคืนได้ ส่งผลทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลขนาดมหาศาลกระจัดกระจายเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก

 

                อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เติบโตมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้านการทหารของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า อาร์ปาเน็ต (ARPANET : Advanced Research Projects Agency Network)  เมื่อปี พ.ศ. 2512  แรกเริ่มมีวัตถุประสงค์จัดทำเครือข่ายเพื่อเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการศึกษาและวิจัยด้านการทหาร  ต่อมาเมื่อมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆขอเข้าใช้มากขึ้น จึงได้แยกเครือข่ายออกเป็นอีกเครือข่ายคือ เครือข่าย MILNET (Military Network) ที่ใช้สำหรับด้านการทหารและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)  สำหรับผู้ใช้ทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกา  ปัจจุบันมีผู้เข้าร่วมเครือข่ายมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก และมีเครือข่ายย่อยมากกว่า 5,000 เครือข่าย ผู้ใช้มากกว่า 50 ล้านคนทั่วโลก และยังมีการขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการเจริญเติบโตประมาณ 10-20 %

                วัตถุประสงค์ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ เพื่อประโยชน์ในการแบ่งบันแลกเปลี่ยน      ข่าวสารความรู้ต่าง ๆ เป็นแหล่งความรู้สำหรับนักวิชาการและนักวิจัยทั่วโลก และเป็นแหล่งศึกษาเพื่อการพัฒนาเครือข่ายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ                ในปี พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงการใช้อินเทอร์เน็ตโดยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือเอที  (AIT) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เชื่อมต่อไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย                จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเน็คเทค (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย(AIT),มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ,  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าด้วยกันเรียกว่า  “เครือข่ายไทยสาร”    โดยสำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตกับบริษัทยูยูเน็ตเทคโนโลยีประเทศสหรัฐอเมริกา                 ในปี พ.ศ. 2536 เน็คเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬา  ลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเน็คเทค ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับและมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อมา              

           ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเทอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น           การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่   บุคคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิก  และได้ตั้งรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า “ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต”หรือไอเอสพี  (ISP- Internet Service Provider)


               บริการต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตมีหลายลักษณะและจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากมีสมาชิกส่วนหนึ่งได้จัดเสนอข้อมูลของตนเองเพื่อไว้ใช้หรืออำนวยความสะดวกแก่ผู้สนใจอื่น ๆ ซึ่งบริการโดยทั่วไปของอินเทอร์เน็ตมีหลายด้าน ดังนี้                1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ (E-mail : electronics  mail) เป็นบริการรับส่งจดหมายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การส่งเอกสารข้อความมีลักษณะเหมือนการส่งจดหมาย แต่ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานให้เองโดยอัตโนมัติทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว สามารถติดต่อกันได้อย่างทั่วถึงทุกภูมิภาพที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ผู้ใช้อีเมล์จะต้องมีที่อยู่หรืออีเมล์แอดเดรส (E-mail address) เช่น
smo_t@yahoo.com               2.  บริการขอเข้าใช้เครื่องระยะไกลหรือเทลเน็ต (Telnet)     เป็นบริการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไป สามารถใช้บริการ Telnet เพื่อเข้าใช้งานเครื่องดังกล่าวได้เหมือนกับเราไปนั่งที่หน้าเครื่องนั้นเอง โดยจำลองคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็นเสมือนจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้             โปรแกรม Telnet นับได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่มีประโยชน์มากสำหรับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตในแบบตัวอักษร (Text mode) หน้าที่ของโปรแกรม Telnet นั้นจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายได้ และใช้บริการสำเนาไฟล์ รับส่งอีเมล์ได้                                3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือเอฟทีพี (FTP : File Transfer Protocol) เป็นบริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจากเครื่องอื่นมาเก็บไว้ยังเครื่องของตน โดยในการโอนย้ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเทอร์เน็ตมาลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจะเรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) ส่วนกระบวนการนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปไว้ยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นบนอินเทอร์เน็ตจะเรียกว่า อัฟโหลด (Upload)               4.   กลุ่มข่าวที่น่าสนใจหรือยูสเน็ต (UseNet) เป็นบริการในลักษณะของกระดานข่าวหรือ   บูเลตินบอร์ด (คล้ายๆ กับระบบ Bulletin Board System หรือ BBS) ที่เสมือนเป็นกระดานประกาศขายสินค้าหรือแสดงความต้องการ ความคิดเห็นเพื่อให้ผู้สนใจตรงกันหรือคล้าย ๆ กันได้ส่งข่าว   ติดต่อกันข่าวที่นำมาเสนอไว้อาจจะเกี่ยวกับสังคม กีฬา ศาสนา วัฒนธรรม เทคโนโลยี ปรัชญา   เป็นต้น โดยที่ท้ายกระดานข่าวจะมีที่อยู่ซึ่งผู้สนใจสามารถติดต่อถึงกันได้               5. การสนทนาบนเครือข่าย (Talk, Chat) บริการนี้จะแตกต่างจากจดหมายซึ่งเขียนไปไว้ที่ตู้ไปรษณีย์ของผู้รับคือ ผู้ส่งผู้รับโต้ตอบกันทางตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า  IRC (Internet  Relay  Chat)   ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นให้สามารถพูดโต้ตอบกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้ดังเช่นพูดกันทางโทรศัพท์                6. เวิลด์ไวด์เว็บหรือเว็บ (World Wide Web)  เป็นบริการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูล ข่าวสารเข้าด้วยกันทางอินเทอร์เน็ตที่มีผู้คนนิยมใช้กันในปัจจุบันที่ได้ผนวกเอาความก้าวหน้าและบริการต่างๆ มารวมกันไว้ เพราะนอกจากการค้นหาข้อมูลข่าวสารต่างๆได้แล้ว ยังสามารถ หาความบันเทิงได้หลากหลายรูปแบบบนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว แฟ้มภาพ วีดิทัศน์หรือแม้กระทั่งการดูภาพยนตร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


                การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นผู้ใช้ส่วนบุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยใช้ผ่านคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์โดยใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงคือ โมเด็ม (Modem) ซึ่งเป็นเครื่องแปลงสัญญาณสื่อสารจาก     อนาลอกของโทรศัพท์ให้เป็นดิจิตอล   โดยต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการใช้เครือข่ายเชิงพาณิชย์หรือไอเอสพี (Internet Service Providers- ISP) เช่น KSC, Lox info, CS Internet  เป็นต้น  นอกจากนั้นยังมีใช้วงจรเช่า(Leased line)จากองค์การโทรศัพท์เพื่อใช้ในการสื่อสารโดยตรงสำหรับหน่วยงานที่มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตสูงด้วย   สำหรับเครือข่ายภายในหรือแลนของสถาบันต่างๆ นั้นบุคลากรของหน่วยงานก็ต้องสมัครเป็นสมาชิกเช่นกัน  บางสถาบันจะเปิดให้ผู้ที่เป็นสมาชิกใช้บริการจากภายนอกได้ ซึ่งต้องติดต่อเข้าไปโดยใช้โทรศัพท์และโมเด็ม                 การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป สามารถแบ่งการเชื่อมต่อได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

  • การเชื่อมต่อแบบบุคคล เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไป ซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านกับระบบเครือข่าย
  • การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นการเชื่อมต่อสำหรับองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้วสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย โดยผ่านอุปกรณ์ชี้เส้นทางหรือเราท์เตอร์ (Router) และสายสัญญาณเช่าตลอด 24 ชั่วโมง

 

โดยทั่วไปการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขั้นพื้นฐานนั้น จะต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้

               1. เครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer) สำหรับคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมต่อการใช้งานหากต้องการสืบค้นรูปภาพ และข้อมูลที่เป็นมัลติมีเดีย ความเป็น Pentium 2 ขึ้นไป หน่วยความจำไม่ต่ำกว่า 32 MB

               2. โมเด็ม (Modem) เป็นเครื่องแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิตอลให้เป็นสัญญาณอนาลอก  เพื่อการรับส่งข้อมูลทางสายโทรศัพท์ หรือในทางกลับกันจาก  อนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งความเร็วในการเรียกข้อมูลมาใช้จะขึ้นอยู่กับความเร็วของโมเด็ม (ปัจจุบันมีความเร็วในระดับ 56.0 kpbs ขึ้นไป)  โดยแบ่งเป็นโมเด็มภายใน (Internal Modem) ซึ่งจะติดตั้งภายในเครื่อง และแบบภายนอก (External Modem)  ซึ่งต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ด้านนอก

                3. โทรศัพท์  (Telephone)  คือคู่สายโทรศัพท์ที่ใช้ทั่วไปตามบ้าน สามารถใช้สำหรับติดต่อเชื่อมกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และใช้งานตามปกติได้

               4.  โปรแกรมสื่อสาร (Communications Program) ในระบบ Windows จะมีโปรแกรมชื่อ Dial Up Networking ทำหน้าที่หมุนโทรศัพท์ติดต่อกับ ISP และเชื่อมต่อกับโทรศัพท์อัตโนมัติ

                5. ชื่อบัญชีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Internet Account) คือ ต้องสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น KSC, CS Internet, Lox info, TOT เป็นต้น  ซึ่งจะได้รับ Account และ Password เพื่อ Log in เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

                การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายเพื่อให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่มีระบบการสื่อสารและอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์แตกต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้นั้น ต้องมีภาษากลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อกันกันเรียกว่า โปโตคอล (Prtocal) ทั้งนี้เพื่อกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลเพื่อให้มีการสื่อสารกันได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด สำหรับโปโตคอลที่ใช้นั้นมีการออกแบบมามากมายเพื่อใช้เป็นมาตรฐานภาษากลางในระบบเครือข่าย แต่ที่ที่นิยมในปัจจุบัน คือ ทีซีพี / ไอพี TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol)

                สรุป TCP/IP คือ โปรโตคอล หรือภาษากลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายให้สามารถสื่อสารกันได้

เพื่อให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวก และถูกต้อง ตรง

ความต้องการในการติดต่อ    จึงต้องมีการกำหนดหมายเลขประจำตัวให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์ (Internet Protocol Number)  โดยวิธีการกำหนดจะใช้ตัวเลข 4 จำนวน เขียนเรียงต่อกัน และคั่นด้วยเครื่องจุด ซึ่งในการกำหนดตัวเลขแต่ละจำนวนนั้นสามารถกำหนดใช้ได้ตั้งแต่เลข 0-255 เช่น 158.108.2.71 หรือ 192.185.1.1

                เนื่องจากตัวเลขแต่ละจำนวนจะแจ้งให้ทราบถึงกลุ่มของเครือข่ายและหมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นในระบบเครือข่ายจะต้องไม่มีการใช้เลขซ้ำกัน โดยตัวเลข

4 จำนวนนี้เราเรียกว่า IP Address ใช้เพื่อกำหนดแจ้งที่อยู่เพื่อการสื่อสาร โดยในการกำหนดหรือขอตัวเลข IP Address นั้น จะต้องติดต่อขอจาก InterNic (Internet Network Information Center)  ซึ่งทำหน้าที่ดูแลการกำหนดตัวเลขเพื่อป้องกันการกำหนดที่ซ้ำซ้อนกัน

ในการติดต่อทางอินเทอร์เน็ต เมื่อเราต้องการติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ทางไกลจะใช้ IP Address เป็นตัวกำหนดในการติดต่อ เช่นใช้คำสั่ง Telnet 192.133.10.1  ก็จะสามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์นั้นได้    แต่เนื่องจากตัวเลข IP Address  ยากต่อการจดจำจึงมีการกำหนดมาตรฐานชื่อคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย เรียกว่าโดเมนเนม (Domain Name) (หรือ Host name)                 การตั้งชื่อโดเมนจะมีหลักเกณฑ์เพื่อป้องกันการตั้งชื่อซ้ำกันและให้สามารถบอกถึงกลุ่มเครือข่ายได้ ดังนั้นการกำหนดชื่อโดเมนจะมีการกำหนดเป็นลำดับชั้นเรียกว่า ระบบชื่อโดเมน  โดยมีเครื่องหมายจุดแบ่งลำดับของโดเมนจากขวาไปซ้าย ชื่อโดเมนที่อยู่ขวาสุดจะเป็นโดเมนที่ใหญ่ขึ้นเป็นลำดับและครอบคลุมโดเมนที่อยู่ซ้ายมือ ชื่อโดเมนขวาสุดจะแจ้งชื่อประเทศ ชื่อด้านซ้ายสุดมักเป็นชื่อคอมพิวเตอร์ หรือชื่อย่อสถาบัน

                ชื่อโดเมนประกอบด้วยชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ชื่อเครือข่ายท้องถิ่น ชื่อ Sub Domain (ประเภทองค์กร) และชื่อ ประเทศ ตัวอย่างเช่น

                ชื่อเครื่อง (Domain Name)              IP number                           องค์กร

                 tu.ac.th                                                   192.150.249.21                   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

                สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่มีโดเมนชื่อประเทศ เนื่องจากถือว่าเป็นผู้ริเริ่มเครือข่ายเช่น dialog.com, yahoo.com เป็นต้น  เช่นเดียวกับการกำหนดชื่อโดเมนของลักษณะสถาบันอาจมีความแตกต่างตามประเทศ เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้กำหนดเป็น edu ในขณะที่แห่งอื่นจะเป็น ac เป็นต้น

                ตัวอย่าง  การกำหนดชื่อโดเมนของโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

                ชื่อคอมพิวเตอร์                    nukul.ac.th

                ในการขอเข้าใช้ระบบทางไกลสามารถพิมพ์ได้ทั้ง IP Address หรือ Domain เช่น

                telnet 203.185.96.203  หรือ telnet nukul.ac.th

 

ตัวอย่าง  การกำหนดชื่อโดเมน  ตามประเภทหน่วยงาน

                ชื่อโดเมน                                                              ประเภทองค์กรในสหรัฐอเมริกา

                com        = commercial                                       องค์กรด้านการค้า

                edu         = educational                                        สถาบันการศึกษา

                gov         = government                                      องค์กรของรัฐ

                mil          = military                                              องค์กรของทหาร

                net          = network services                              องค์กรบริการด้านเครือข่าย

                org          = other organizations                         องค์กรอื่นๆ นอกเหนือจากเบื้องต้น

                ตัวอย่าง  ชื่อโดเมน ซึ่งเป็นชื่อย่อประเทศต่างๆ

                au            =             Australia                                th            =             Thailand

                fr             =             France                                   uk           =             United of Kingdom

                jp             =             Japan                                      ca            =             Canada

 

                ในการติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีที่อยู่อินเทอร์เน็ตสำหรับการติดต่อทางอีเมล์  ซึ่งจะมีรูปแบบคือ

                                username@domain name

               username             คือ           บัญชีชื่อสมาชิกหรือชื่ออีเมล์ จะต้องอักษรเป็นภาษาอังกฤษหรือตัวเลข ประกอบด้วยตัวอักษรตั้งแต่ 3-15 ตัว ที่สำคัญในชื่อต้องไม่มีช่องว่าง อักขระ หรือเครื่องหมายพิเศษแทรกอยู่

@                            คือ           เครื่องหมาย แอท-ซาย คั่นระหว่างชื่อ โฮสต์ และโดเมเนม

Domain                                คือ           โดเมนเนมหรือเว็บไซต์ที่ให้บริการอีเมล์
ตัวอย่าง E-mail Address เช่น        
smo2003@yahoo.com

                 ชื่อ user name          at         ชื่อโดเมนหรือเว็บไซต์

ดังนั้นเวลาอ่าน จะต้องอ่านว่า “เอสเอ็มโอสองศูนย์ศูนย์สาม แอท ยาฮู ดอท คอม”

                ในการขอเข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายต้องสมัครที่ศูนย์ให้บริการอินเทอร์เน็ต เมื่อเป็นสมาชิกแล้วศูนย์บริการแห่งนั้นจะให้ Internet Account คือการมีสิทธิ์ในการใช้บริการเครือข่าย และจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (user name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับการเข้าใช้ของผู้ที่เป็นสมาชิก

                บัญชีสมาชิก (Username) คือ ชื่อที่ผู้ใช้ต้องพิมพ์ เมื่อขอเข้าใช้ เมื่อปรากฏคำว่า log in ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า login name หรือรหัสประจำตัวผู้ใช้ ซึ่งในการพิมพ์จะเป็นตัวอักษรตัวเล็ก หรือตัวเลขคละกัน เช่น smo2001, smo_t, wat1234 เป็นต้น

                รหัสผ่าน (Password) คือ รหัสที่ศูนย์ที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต กำหนดให้ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสำหรับขอเข้าใช้ระบบ  รหัสผ่านที่ได้รับนี้จะต้องเก็บเป็นความลับไม่ให้ผู้อื่นล่วงรู้  รหัสผ่านจะใส่เมื่อปรากฎคำว่า Password ผู้ใช้สามารถกำหนดรหัสผ่านได้ตามต้องการ โดยทั่วไปแล้วควรเปลี่ยนรหัสผ่านเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นแอบเอารหัสไปใช้  วิธีการกำหนดรหัสผ่านควรใช้รหัสมากกว่า 6 ตัว และควรเป็นสัญลักษณ์ผสมตัวอักษรใหญ่หรืออักษรเล็ก อักขรพิเศษ หรือตัวเลข ซึ่งในการกำหนดรหัสผ่านควรจะเป็นคำที่เจ้าตัวจำได้ง่าย แต่คนอื่นคาดเดาได้ยากและไม่ควรใช้คำที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้กำหนด

                เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือศูนย์ที่จะให้อนุญาตเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้ ก็ต่อเมื่อผู้ใช้ใส่ Username และ Password ถูกต้องตามที่กำหนดให้เท่านั้น

                ลักษณะข้อมูลที่อยู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีอยู่หลายรูปแบบ คือ
1.  ข้อมูลข่าวสาร แบบตัวอักษร (Text)  เป็นข้อมูลที่เป็นเรื่อง ข่าวสารต่าง ๆในรูปของ     ข้อความคล้ายหนังสือ วารสารต่าง ๆ ทั้งนี้สามารถเปิดอ่านได้ทีละหลายๆ หน้าในเวลาเดียวกัน

                2.  ข้อมูลข่าวสารแบบกราฟฟิค (Graphic) คือ ข้อมูลที่เป็นลักษณะภาพต่าง ๆ ซึ่งจัดเก็บไว้ในลักษณะไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์

3.   ข้อมูลข่าวสารในรูปเสียง (sound)

4.  ข้อมูลในรูปแบบสื่อประสม หรือมัลติมีเดีย (Multimedia) คือข้อมูลที่มีทั้งภาพ

ตัวอักษร เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ

5.  ข้อมูลในลักษณะไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)  หรือไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) โดยที่

ลักษณะของข้อมูลจะสามารถเชื่อมโยงไปถึงกันได้ทุกเวลาที่ต้องการ และสามารถกลับมายังข้อมูลเดิมเมื่อต้องการให้ทุกขณะเช่นกัน

                เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นศูนย์ข้อมูลหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่มีการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิชาการ การเมือง ธุรกิจ ข่าวสาร บันเทิง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เกมต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลที่ให้ฟรี หรือบางแหล่งก็จะต้องเสียค่าบริการในการสืบค้นข้อมูล

                ประโยชน์ในการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีดังนี้

                1. ใช้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆทั่วโลก โดยการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) หรือการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต (Chat)

               2.  เพื่อการเข้าใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่ต่ออยู่ในเครือข่าย การติดต่อเข้าสู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆที่ต่ออยู่ในเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ มาใช้งานได้

               3.  เพื่อการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้สามารถคัดลอกและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมที่ผู้ผลิตอนุญาต มาใช้ตามต้องการ

4.       สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ห้องสมุดทั่วทุกมุมโลก

5.       ใช้ในการรับข้อมูล ข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในด้านต่าง ๆผ่านกลุ่มสนทนา

6.       สามารถใช้เชื่อมโยง ติดต่อกับคอมพิวเตอร์หรือศูนย์ข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในงานด้าน

ต่าง ๆ ทั่วโลก

                7.  เพื่อใช้บริการและดำเนินงานธุรกิจจากผู้ขายบริการด้านต่างๆ เช่น ธนาคาร ร้านค้า ร้านอาหารเป็นต้น

8.   ใช้ในการเรียนการสอนทางไกล (E-Learning) การประชุม การอบรมสัมมนา

9.   ใช้เพื่อความบันเทิง และพักผ่อนหยุ่นใจ เช่น เพลง รายการทีวี วิทยา ภาพยนตร์ เกม

10.    เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย

                ข้อเสียหรือโทษในการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีดังนี้

               1. ข้อมูลบางอย่างอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริงต้องใช้วิจารณญานในการรับรู้                2.  อาจถูกหลอกลวง กลั่นแกล้ง                3.  ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากไป อาจทำให้เสียการเรียนได้

               4. ข้อมูลบางอย่างไม่เหมาะสมกับเด็กๆในวัยเรียน

               5. ทำให้เสียสายตาได้

               6. ขณะใช้อินเทอร์เน็ตโทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้

Leave a comment